1.ความหมายและความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ต่อการออกแบบ
มีผู้อธิบายความหมายและให้คำจำกัดความ “ ความคิดสร้างสรรค์ ” มากมาย เพราะมีความเกี่ยวพันอยู่ในหลาย วงการดังกล่าว เช่น อาจารย์วิรุณ ตั้งเจริญ กล่าวถึงความหมายของคำว่า ความคิดสร้างสรรค์ไว้ในหนังสือ เรื่อง “ การออกแบบ ” ว่า “ ความคิดสร้างสรรค์ มีความหมายถึง ความคิดหรือการปฏิบัติมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม หรือสร้างขึ้นใหม่ต่างไปจากสิ่งเดิมที่เป็นอยู่ และสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นต้องเป็นไปในทางดีงาม ” อาจารย์อารี สุทธิพันธุ์ ได้เขียนไว้ในหนังสือ เรื่อง “ ศิลปะที่มองเห็น ” ว่า “ ความคิดสร้างสรรค์เป็นความอยากอย่างหนึ่งของมนุษย์ ที่ติดตัว มาตั้งแต่เกิด อยากทำให้แปลกไปจากเดิม อยากแสดงออกให้แปลกไปจากที่เคยเห็น อยากเป็นคนดัง อยากสร้างสิ่งใหม่ ๆ อยากทำให้มีประโยชน์มากจากที่เคยทราบและอยากคิดอะไรใหม่ ๆ
คำว่า “ ความคิดสร้างสรรค์ ” อาจจะแยกออกได้เป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือความคิดที่เกิดจากสมองซึ่งมีลักษณะ นามธรรม เช่น ความคิดที่จะประดิษฐ์สินค้าใหม่ ๆ ที่ไม่ซ้ำรูปแบบสินค้าอื่นในตลาด ส่วนที่สอง คือสร้างสรรค์เกิดตามหลัง ความคิดมาหมายถึง การทำสิ่งที่คิดไว้ออกมาให้เห็นปรากฏเป็นรูปร่าง อาจกล่าวได้ว่า การสร้างสรรค์เป็นลักษณะ ของรูปแบบ
รวมความแล้วจึงอาจสรุปได้ว่า ความคิดสร้างสรรค์คือ ความคิดที่ดัดแปลงจากของเดิมหรือดัดแปลงจาก สิ่งที่มี อยู่แล้ว แล้วนำมา สร้างสรรค์ปฏิบัติแสดงออกมาให้เป็นผลงานที่ดี บรรจุความคิดใหม่ เป็นรูปทรงใหม่หรือมีหน้าที่ใหม่ หรือนำไปใช้ในแง่ใหม่ให้มีประสิทธิภาพสูงกว่าเดิมได้ หรือเป็นการสร้างชิ้นงานขึ้นใหม่ให้ดีกว่าที่มีอยู่เดิม
ความคิดสร้างสรรค์เป็นบุคลิกนิสัยอย่างหนึ่ง ซึ่งอาจเกิดจากวิธีการเลี้ยงดูในบ้านกระบวนการเรียนรู้ในโรงเรียน การ ใช้ชีวิตในสังคม มีความสำคัญและมีประโยชน์กับคนทุกคน ถ้าพิจารณาในแง่นามธรรม คือ การสร้างสรรค์ทางความคิด ในตัวของมันเอง ก็จะพบว่าคนที่มีความคิดสร้างสรรค์นั้น จะเป็นผู้มีคุณสมบัติที่ดี มีพฤติกรรมที่เป็นไปในทางที่ดี เช่น เป็นผู้ที่เปิดใจกว้างขวางยอมรับฟังความคิดเห็นใหม่ ๆ ไม่ได้นึกว่าตัวเองเป็นฝ่ายถูกเสมอ ไม่เอาตัวเองเป็นจุดศูนย์กลางใน การพิจารณาคนอื่น ชอบเก็บสะสมความรู้ หมั่นค้นคว้าวิจัยสืบสวนหาความจริงในสิ่งต่าง ๆ เป็นคนที่มีเหตุผลและคุณสมบัต ิเหล่านี้ก็จะส่งผลและคุณสมบัต ิเหล่านี้ก็จะส่งผลให้เจ้าของประสบผลสำเร็จในชีวิต
นอกจากในด้านนามธรรมแล้ว ในทางรูปแบบ ความคิดสร้างสรรค์ที่ปรากฏเป็นผลงานปฏิบัติอาจพิจารณาได้ใน 2 แง่มุม คือ ความคิดสร้างสรรค์ทางความงาม และความคิดสร้างสรรค์ทางประโยชน์ใช้สอย สำหรับแง่มุมแรก ก็ทำ ประโยชน์ทางด้านจิตใจให้ผู้คนเห็นได้ชื่นชมในงานศิลปะ ที่มีรูปแบบและเนื้อหาที่แปลกใหม่ ส่วนในแง่มุมที่สองเป็น ประโยชน์ใช้สอยได้โดยตรง ทำให้เกิดเป้าหมายในการซื้อขาย
คำว่า “ ความคิดสร้างสรรค์ ” อาจจะแยกออกได้เป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือความคิดที่เกิดจากสมองซึ่งมีลักษณะ นามธรรม เช่น ความคิดที่จะประดิษฐ์สินค้าใหม่ ๆ ที่ไม่ซ้ำรูปแบบสินค้าอื่นในตลาด ส่วนที่สอง คือสร้างสรรค์เกิดตามหลัง ความคิดมาหมายถึง การทำสิ่งที่คิดไว้ออกมาให้เห็นปรากฏเป็นรูปร่าง อาจกล่าวได้ว่า การสร้างสรรค์เป็นลักษณะ ของรูปแบบ
รวมความแล้วจึงอาจสรุปได้ว่า ความคิดสร้างสรรค์คือ ความคิดที่ดัดแปลงจากของเดิมหรือดัดแปลงจาก สิ่งที่มี อยู่แล้ว แล้วนำมา สร้างสรรค์ปฏิบัติแสดงออกมาให้เป็นผลงานที่ดี บรรจุความคิดใหม่ เป็นรูปทรงใหม่หรือมีหน้าที่ใหม่ หรือนำไปใช้ในแง่ใหม่ให้มีประสิทธิภาพสูงกว่าเดิมได้ หรือเป็นการสร้างชิ้นงานขึ้นใหม่ให้ดีกว่าที่มีอยู่เดิม
ความคิดสร้างสรรค์เป็นบุคลิกนิสัยอย่างหนึ่ง ซึ่งอาจเกิดจากวิธีการเลี้ยงดูในบ้านกระบวนการเรียนรู้ในโรงเรียน การ ใช้ชีวิตในสังคม มีความสำคัญและมีประโยชน์กับคนทุกคน ถ้าพิจารณาในแง่นามธรรม คือ การสร้างสรรค์ทางความคิด ในตัวของมันเอง ก็จะพบว่าคนที่มีความคิดสร้างสรรค์นั้น จะเป็นผู้มีคุณสมบัติที่ดี มีพฤติกรรมที่เป็นไปในทางที่ดี เช่น เป็นผู้ที่เปิดใจกว้างขวางยอมรับฟังความคิดเห็นใหม่ ๆ ไม่ได้นึกว่าตัวเองเป็นฝ่ายถูกเสมอ ไม่เอาตัวเองเป็นจุดศูนย์กลางใน การพิจารณาคนอื่น ชอบเก็บสะสมความรู้ หมั่นค้นคว้าวิจัยสืบสวนหาความจริงในสิ่งต่าง ๆ เป็นคนที่มีเหตุผลและคุณสมบัต ิเหล่านี้ก็จะส่งผลและคุณสมบัต ิเหล่านี้ก็จะส่งผลให้เจ้าของประสบผลสำเร็จในชีวิต
นอกจากในด้านนามธรรมแล้ว ในทางรูปแบบ ความคิดสร้างสรรค์ที่ปรากฏเป็นผลงานปฏิบัติอาจพิจารณาได้ใน 2 แง่มุม คือ ความคิดสร้างสรรค์ทางความงาม และความคิดสร้างสรรค์ทางประโยชน์ใช้สอย สำหรับแง่มุมแรก ก็ทำ ประโยชน์ทางด้านจิตใจให้ผู้คนเห็นได้ชื่นชมในงานศิลปะ ที่มีรูปแบบและเนื้อหาที่แปลกใหม่ ส่วนในแง่มุมที่สองเป็น ประโยชน์ใช้สอยได้โดยตรง ทำให้เกิดเป้าหมายในการซื้อขาย
2.ระดับของความคิดสร้างสรรค์และขั้นตอนของการสร้างความคิดสร้างสรรค์
ความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์นั้นมีหลายระดับ แต่ละคนจะมีคุณสมบัติที่ไม่เท่ากันนักจิตวิทยาสังคม ชื่อ ดร.เออร์วิง เอ. เทเลอร์ ได้จำแนกระดับความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ไว้ 5 ระดับ ดังนี้
1. ความคิดสร้างสรรค์ในลักษณะการแสดงออก ในขั้นนี้จัดได้ว่าเป็นขั้นเบื้องต้น ซึ่งความเชี่ยวชาญชำนาญยัง ไม่ใช่ เรื่อง สำคัญที่จะเข้ามาเกี่ยวข้อง ถ้าจะเปรียบเหมือนกับการวาดภาพของเด็ก ๆ การแสดงออกถึงจินตนาการหรือ เรื่องราวต่าง ๆ ซึ่งเป็นโลกแห่งความฝันโลกที่เราสมมุติขึ้น คนที่มีความคิดสร้างสรรค์ในขั้นนี้ จะปล่อยให้จิตใจและ จินตนาการ เป็นอิสระ ไม่มีขอบเขตจำกัด
2. ความคิดสร้างสรรค์ในด้านการผลิต ในขั้นนี้จะเป็นความคิดสร้างสรรค์ซึ่งแสดงออกถึงความชำนาญใน สายงานอาชีพของตน ถ้าจะยกตัวอย่างในงานวงการออกแบบโฆษณาก็หมายความว่า นักออกแบบผู้นั้นสามารถแต่ง ขัดเกลางานซึ่ง มาจากจินตนาการของตนในขั้นที่หนึ่งให้เป็นที่เข้าใจ และยอมรับในหมู่ของผู้คนที่ทำงานในแวดวง เดียวกันได้
3. ความคิดสร้างสรรค์ในการประดิษฐ์ อาจกล่าวได้ว่า ผู้มีความคิดสร้างสรรค์ในขั้นนี้เป็นนักประดิษฐ์ สามารถ นำเอาแนวความคิดเก่ามาหาทางใช้ได้ในวิธีการใหม่ ๆ คือ ความคิดพื้นฐานเดิมนั้น ยังคงอยู่ไม่มีสิ่งใหม่ในแนวคิด แต่ความ สามารถที่มองเห็นสำหรับนักประดิษฐ์ก็คือ ความชำนาญในการใช้เครื่องมือ
4. ความคิดสร้างสรรค์ในด้านการแสวงหาแนวทางใหม่ โดยไม่ติดอยู่กับความคิดเดิมสำหรับขั้นนี้ศิลปิน ผู้มี ความคิดสร้างสรรค์จะแสดงความคิดสามารถของเขาในเชิงนามธรรม เขาจะหลีกลี้ไปจากโลกของความจริง พวกนี้อาจ จะได้แก่ กลุ่มนักคิดในสำนักการออกแบบแนวใหม่
5. ความคิดสร้างสรรค์ในขั้นสูงสุดคือ ผู้คิดสร้างหลักเกณฑ์ใหม่โดยสิ้นเชิง ศิลปินกลุ่มนี้จะเป็นผู้มีความสามารถ สูงในศิลปะที่แสดงออกในด้านนามธรรม เป็นพวกที่อาจจะตั้งกลุ่มนักคิดสำนักใหม่ในด้านการออกแบบขึ้นมาให้ สังคม ได้
ระดับความคิดสร้างสรรค์ทั้งหมดนี้ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องของความฉลาดเฉลียวความเก่ง หรือความเป็นคนมี เหตุผลแต่ประการใด การที่มีความคิดสร้างสรรค์ คือคนที่มีจินตนาการเหลือเฟือ มีอิสระเสรี มีความคิดเป็นของตนเอง อาจจะกล่าวได้ว่า มากกว่าคนที่มีระดับสติปัญญาสูงโดยทั่วไป คนที่มีระดับสติปัญญาสูงอาจจะเป็นคนที่ไม่มีความคิด สร้างสรรค์เลยก็ได้
ความคิดสร้างสรรค์นี้เป็นที่ยอมรับกันว่ามีความสำคัญ และมีประโยชน์ต่อสังคมมนุษย์ เพราะทำให้โลกนี้มี ความคิดใหม่ ๆ มีของใหม่ของแปลก ของที่ดัดแปลงปรับปรุงให้ดีขึ้น มีประโยชน์ต่อมนุษย์ขึ้นมากกว่าเดิม ดังที่ได้ กล่าวมาแล้ว แต่ตอนต้น ดังนั้นเราจึงควรส่งเสริมฝึกทักษะให้คนมีความคิดสร้างสรรค์กันมาก ๆ โดยเฉพาะ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับวงการการ ออกแบบ การสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นนี้มีกระบวนการเป็นขั้นตอน 4 ขั้นตอน คือ
1. ขั้นเตรียมการ เป็นการเปิดตัวเองต่อสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับงานของเขาทั้งหมด เช่น สมมุติว่าเป็นการใช้ ความ คิด สร้างสรรค์ในงานการออกแบบโฆษณา เขาก็จะต้องเปิดตัวเอง ศึกษาเรื่องลูกค้า สินค้าที่จะโฆษณา สื่อที่จะใช้ ผู้ที่เขาคาดว่าจะเป็นผู้ดูโฆษณาของเขา และผลงานการออกแบบของนักออกแบบตลอดจนวิธีทำงาน วิธีแก้ปัญหาของนัก ออกแบบคนอื่น
2.ขั้นต่อไปก็เป็นขั้นเพาะความคิด คือ ปล่อยให้จิตใต้สำนึกได้คิดสำรวจทบทวนวัตถุดิบทั้งหลายที่ได้จับมา ประสานย่อยซึมเข้าหากันในขั้นเตรียมการขั้นแรก
3. ขั้นที่สาม ก็จะเป็นการค้นหาคำตอบ วิธีการแก้ปัญหาจนมุม บางครั้งคำตอบอาจจะเกิดแจ่มขึ้นมา ในดวงความ คิดเหมือนมีแรงบันดาลใจในระยะเวลาสั้น ๆ ก็ได้ พอจะทำให้หลับตามองเห็นรูปร่างหน้าตาของผล งานตนเองว่าจะออกมา ในรูปใด
4. สุดท้ายเป็นขั้นปฏิบัติการลงมือทำให้สำเร็จ โดยพยายามรักษาคุณภาพของแนวคิดของตัวเอง เอาไว้ ให้ได้ ตลอดในขณะที่ลงมือแปลงความคิดจากสมองมาเป็นการปฏิบัติด้วยมือ หมายความว่าในขณะนั้นเขาจะต้องทำ การสื่อสาร สื่อความหมาย ความคิดของเขาออกมาในรูปผลงานให้ปรากฏ
ขั้นตอนการสร้างความคิดสร้างสรรค์นี้มีประโยชน์ ช่วยให้นักออกแบบสามารถแก้ปัญหาเกี่ยวกับงานการออกแบบ ของ เขาได้ ไม่ว่าเขาจะทำงานในระดับยากเพียงใด อย่างไรก็ตามขั้นตอนทั้ง 4 นี้ ก็ต้องอาศัยเวลาพอควร จากขั้นแรกไปจนถึง ขั้นสุดท้าย ดังนั้น หากนักออกแบบเผชิญกับงานที่เร่งด่วน หรือแข่งกับเวลาให้ทันเส้นตาย ขั้นตอนที่ 4 นี้ ก็คงไม่อาจช่วย ให้เกิดแรงบันดาลใจในการทำงานได้เต็มที่นัก นอกเสียจากว่านักออกแบบผู้นั้นจะได้มีการเตรียมตัว ให้พร้อมอยู่เสมอ โดย การสะสมประสบการณ์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องเก็บเอาไว้ในธนาคารความคิดและพร้อมที่จะเบิกออกมา ใช้ได้ตลอดเวลา
1. ความคิดสร้างสรรค์ในลักษณะการแสดงออก ในขั้นนี้จัดได้ว่าเป็นขั้นเบื้องต้น ซึ่งความเชี่ยวชาญชำนาญยัง ไม่ใช่ เรื่อง สำคัญที่จะเข้ามาเกี่ยวข้อง ถ้าจะเปรียบเหมือนกับการวาดภาพของเด็ก ๆ การแสดงออกถึงจินตนาการหรือ เรื่องราวต่าง ๆ ซึ่งเป็นโลกแห่งความฝันโลกที่เราสมมุติขึ้น คนที่มีความคิดสร้างสรรค์ในขั้นนี้ จะปล่อยให้จิตใจและ จินตนาการ เป็นอิสระ ไม่มีขอบเขตจำกัด
2. ความคิดสร้างสรรค์ในด้านการผลิต ในขั้นนี้จะเป็นความคิดสร้างสรรค์ซึ่งแสดงออกถึงความชำนาญใน สายงานอาชีพของตน ถ้าจะยกตัวอย่างในงานวงการออกแบบโฆษณาก็หมายความว่า นักออกแบบผู้นั้นสามารถแต่ง ขัดเกลางานซึ่ง มาจากจินตนาการของตนในขั้นที่หนึ่งให้เป็นที่เข้าใจ และยอมรับในหมู่ของผู้คนที่ทำงานในแวดวง เดียวกันได้
3. ความคิดสร้างสรรค์ในการประดิษฐ์ อาจกล่าวได้ว่า ผู้มีความคิดสร้างสรรค์ในขั้นนี้เป็นนักประดิษฐ์ สามารถ นำเอาแนวความคิดเก่ามาหาทางใช้ได้ในวิธีการใหม่ ๆ คือ ความคิดพื้นฐานเดิมนั้น ยังคงอยู่ไม่มีสิ่งใหม่ในแนวคิด แต่ความ สามารถที่มองเห็นสำหรับนักประดิษฐ์ก็คือ ความชำนาญในการใช้เครื่องมือ
4. ความคิดสร้างสรรค์ในด้านการแสวงหาแนวทางใหม่ โดยไม่ติดอยู่กับความคิดเดิมสำหรับขั้นนี้ศิลปิน ผู้มี ความคิดสร้างสรรค์จะแสดงความคิดสามารถของเขาในเชิงนามธรรม เขาจะหลีกลี้ไปจากโลกของความจริง พวกนี้อาจ จะได้แก่ กลุ่มนักคิดในสำนักการออกแบบแนวใหม่
5. ความคิดสร้างสรรค์ในขั้นสูงสุดคือ ผู้คิดสร้างหลักเกณฑ์ใหม่โดยสิ้นเชิง ศิลปินกลุ่มนี้จะเป็นผู้มีความสามารถ สูงในศิลปะที่แสดงออกในด้านนามธรรม เป็นพวกที่อาจจะตั้งกลุ่มนักคิดสำนักใหม่ในด้านการออกแบบขึ้นมาให้ สังคม ได้
ระดับความคิดสร้างสรรค์ทั้งหมดนี้ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องของความฉลาดเฉลียวความเก่ง หรือความเป็นคนมี เหตุผลแต่ประการใด การที่มีความคิดสร้างสรรค์ คือคนที่มีจินตนาการเหลือเฟือ มีอิสระเสรี มีความคิดเป็นของตนเอง อาจจะกล่าวได้ว่า มากกว่าคนที่มีระดับสติปัญญาสูงโดยทั่วไป คนที่มีระดับสติปัญญาสูงอาจจะเป็นคนที่ไม่มีความคิด สร้างสรรค์เลยก็ได้
ความคิดสร้างสรรค์นี้เป็นที่ยอมรับกันว่ามีความสำคัญ และมีประโยชน์ต่อสังคมมนุษย์ เพราะทำให้โลกนี้มี ความคิดใหม่ ๆ มีของใหม่ของแปลก ของที่ดัดแปลงปรับปรุงให้ดีขึ้น มีประโยชน์ต่อมนุษย์ขึ้นมากกว่าเดิม ดังที่ได้ กล่าวมาแล้ว แต่ตอนต้น ดังนั้นเราจึงควรส่งเสริมฝึกทักษะให้คนมีความคิดสร้างสรรค์กันมาก ๆ โดยเฉพาะ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับวงการการ ออกแบบ การสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นนี้มีกระบวนการเป็นขั้นตอน 4 ขั้นตอน คือ
1. ขั้นเตรียมการ เป็นการเปิดตัวเองต่อสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับงานของเขาทั้งหมด เช่น สมมุติว่าเป็นการใช้ ความ คิด สร้างสรรค์ในงานการออกแบบโฆษณา เขาก็จะต้องเปิดตัวเอง ศึกษาเรื่องลูกค้า สินค้าที่จะโฆษณา สื่อที่จะใช้ ผู้ที่เขาคาดว่าจะเป็นผู้ดูโฆษณาของเขา และผลงานการออกแบบของนักออกแบบตลอดจนวิธีทำงาน วิธีแก้ปัญหาของนัก ออกแบบคนอื่น
2.ขั้นต่อไปก็เป็นขั้นเพาะความคิด คือ ปล่อยให้จิตใต้สำนึกได้คิดสำรวจทบทวนวัตถุดิบทั้งหลายที่ได้จับมา ประสานย่อยซึมเข้าหากันในขั้นเตรียมการขั้นแรก
3. ขั้นที่สาม ก็จะเป็นการค้นหาคำตอบ วิธีการแก้ปัญหาจนมุม บางครั้งคำตอบอาจจะเกิดแจ่มขึ้นมา ในดวงความ คิดเหมือนมีแรงบันดาลใจในระยะเวลาสั้น ๆ ก็ได้ พอจะทำให้หลับตามองเห็นรูปร่างหน้าตาของผล งานตนเองว่าจะออกมา ในรูปใด
4. สุดท้ายเป็นขั้นปฏิบัติการลงมือทำให้สำเร็จ โดยพยายามรักษาคุณภาพของแนวคิดของตัวเอง เอาไว้ ให้ได้ ตลอดในขณะที่ลงมือแปลงความคิดจากสมองมาเป็นการปฏิบัติด้วยมือ หมายความว่าในขณะนั้นเขาจะต้องทำ การสื่อสาร สื่อความหมาย ความคิดของเขาออกมาในรูปผลงานให้ปรากฏ
ขั้นตอนการสร้างความคิดสร้างสรรค์นี้มีประโยชน์ ช่วยให้นักออกแบบสามารถแก้ปัญหาเกี่ยวกับงานการออกแบบ ของ เขาได้ ไม่ว่าเขาจะทำงานในระดับยากเพียงใด อย่างไรก็ตามขั้นตอนทั้ง 4 นี้ ก็ต้องอาศัยเวลาพอควร จากขั้นแรกไปจนถึง ขั้นสุดท้าย ดังนั้น หากนักออกแบบเผชิญกับงานที่เร่งด่วน หรือแข่งกับเวลาให้ทันเส้นตาย ขั้นตอนที่ 4 นี้ ก็คงไม่อาจช่วย ให้เกิดแรงบันดาลใจในการทำงานได้เต็มที่นัก นอกเสียจากว่านักออกแบบผู้นั้นจะได้มีการเตรียมตัว ให้พร้อมอยู่เสมอ โดย การสะสมประสบการณ์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องเก็บเอาไว้ในธนาคารความคิดและพร้อมที่จะเบิกออกมา ใช้ได้ตลอดเวลา
3.หลักเกณฑ์การออกแบบ
-สัดส่วน
1. ส่วนสัด ( proportion ) งานขั้นแรกของการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ ก็คือ การกำหนดส่วนสัด ของรูปแบบของงานที่จะออกแบบ เพื่อเป็นแนวทางในการใส่องค์ประกอบลงไปให้เหมาะสม การกำหนดกรอบ ขอบเขต หรือขนาดไว้ก็เป็นการกำหนดส่วนสัดอย่างหนึ่ง โดยทั่วไปแล้วคำว่าส่วนสัดอาจมีความหมายได้ 2 ประการ คือ
1.1 เป็นเรื่องของความสัมพันธ์ในเรื่องของขนาด ระยะหรือพื้นที่ระหว่างของสองสิ่ง เช่น กว้าง – ยาว ใหญ่ – เล็ก
1.2 เป็นเรื่องของการเปรียบเทียบระหว่างองค์ประกอบย่อย และภาพรวมขององค์ประกอบทั้งหมด
การกำหนดอัตราส่วนระหว่างความกว้างความสูงของภาพ ก็เป็นการกำหนดส่วนสัดอย่างหนึ่งที่ผู้ออกแบบต้อง คำนึงถึง กล่าวคือ ไม่ควรกำหนดส่วนสัดให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือ สี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 1:2 เพราะจะดูไม่น่าสนใจ และเป็นรูปแบบที่เห็นได้ง่ายว่าเป็นอัตราส่วนเช่นนั้น แต่การกำหนดให้ดูไม่ ชัดเจนว่าเป็นอัตราส่วนเท่าใดแน่ เช่น 1:3, 2:3, 3:5 หรือ 5:8 จะดูสวยงามและน่าสนใจมากกว่า
การจัดองค์ประกอบของภาพหรือหน้าให้มีส่วนสัดต่าง ๆ กันจะเรียกความสนใจ และดูแปลกตากว่าการให้มี ส่วนสัด ที่ใกล้เคียงหรือเท่ากันไปทั้งหมดดังเช่นภาพข้างล่างนี้
1.1 เป็นเรื่องของความสัมพันธ์ในเรื่องของขนาด ระยะหรือพื้นที่ระหว่างของสองสิ่ง เช่น กว้าง – ยาว ใหญ่ – เล็ก
1.2 เป็นเรื่องของการเปรียบเทียบระหว่างองค์ประกอบย่อย และภาพรวมขององค์ประกอบทั้งหมด
การกำหนดอัตราส่วนระหว่างความกว้างความสูงของภาพ ก็เป็นการกำหนดส่วนสัดอย่างหนึ่งที่ผู้ออกแบบต้อง คำนึงถึง กล่าวคือ ไม่ควรกำหนดส่วนสัดให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือ สี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 1:2 เพราะจะดูไม่น่าสนใจ และเป็นรูปแบบที่เห็นได้ง่ายว่าเป็นอัตราส่วนเช่นนั้น แต่การกำหนดให้ดูไม่ ชัดเจนว่าเป็นอัตราส่วนเท่าใดแน่ เช่น 1:3, 2:3, 3:5 หรือ 5:8 จะดูสวยงามและน่าสนใจมากกว่า
การจัดองค์ประกอบของภาพหรือหน้าให้มีส่วนสัดต่าง ๆ กันจะเรียกความสนใจ และดูแปลกตากว่าการให้มี ส่วนสัด ที่ใกล้เคียงหรือเท่ากันไปทั้งหมดดังเช่นภาพข้างล่างนี้
4.การภาพใช้ประกอบ
ทำให้ส่วนสำคัญของภาพเป็นที่น่าสนใจ
ภาพบางภาพเมื่อมองดูรวมทั้งภาพอย่างผิวเผินแล้ว อาจมองไม่เป็นความเด่น หรือความสำคัญของภาพนั้น อาจเป็นเพราะมีองค์ประกอบอื่นปะปนอยู่ด้วย หรือส่วนประกอบอื่นมีความเด่นมากกว่า ซึ่งในกรณีเช่นนี้ ผู้ออกแบบจะต้องบมองให้ออกว่าในภาพนั้น ๆ มีส่วนใดที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหามากที่สุด และหากเห็นว่าส่วนที่เกี่ยวข้องนั้น ไม่มีความเด่นพอที่จะเรียกความสนใจได้ก็จะต้องหาทางให้ภาพนั้นดูเด่นออกมา เช่นวิธีบังและขยายส่วนสำคัญขึ้น ดังกล่าวมาแล้วหรือใช้วิธีตัดเอาส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องออก แล้วเหลือเฉพาะส่วนสำคัญไว้ แล้ววางภาพใหม่ซึ่งโดยวิธีนี้จะทำให้ภาพนั้นเด่นขึ้น หรือทำให้ส่วนที่ไม่ต้องการซีดจางหรือพร่ามัวไป โดยการใช้เทคนิคของการทำฟิล์ม บางครั้งการให้สีเฉพาะส่วนที่ต้องการเน้นต่างกับส่วนอื่นก็เป็นการเน้นที่ได้ผลดีเช่นกัน
ภาพบางภาพเมื่อมองดูรวมทั้งภาพอย่างผิวเผินแล้ว อาจมองไม่เป็นความเด่น หรือความสำคัญของภาพนั้น อาจเป็นเพราะมีองค์ประกอบอื่นปะปนอยู่ด้วย หรือส่วนประกอบอื่นมีความเด่นมากกว่า ซึ่งในกรณีเช่นนี้ ผู้ออกแบบจะต้องบมองให้ออกว่าในภาพนั้น ๆ มีส่วนใดที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหามากที่สุด และหากเห็นว่าส่วนที่เกี่ยวข้องนั้น ไม่มีความเด่นพอที่จะเรียกความสนใจได้ก็จะต้องหาทางให้ภาพนั้นดูเด่นออกมา เช่นวิธีบังและขยายส่วนสำคัญขึ้น ดังกล่าวมาแล้วหรือใช้วิธีตัดเอาส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องออก แล้วเหลือเฉพาะส่วนสำคัญไว้ แล้ววางภาพใหม่ซึ่งโดยวิธีนี้จะทำให้ภาพนั้นเด่นขึ้น หรือทำให้ส่วนที่ไม่ต้องการซีดจางหรือพร่ามัวไป โดยการใช้เทคนิคของการทำฟิล์ม บางครั้งการให้สีเฉพาะส่วนที่ต้องการเน้นต่างกับส่วนอื่นก็เป็นการเน้นที่ได้ผลดีเช่นกัน
การใช้คำอธิบายประกอบภาพ โดยการใช้ลูกศรหรือเส้นโยงไปยังจุดสำคัญของภาพ แล้วใช้คำพูดอธิบายประกอบ จะทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจดียิ่งขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ใช้ได้เฉพาะกับบางภาพเท่านั้น เช่น ต้องการบ่งชี้ว่าบริเวณนั้น ๆ อยู่ที่ใดในภาพและคืออะไร ซึ่งหากไม่ใช้วิธีโยงเส้นมาอธิบายแล้ว จะทำให้เข้าใจได้ยากมาก
5.การใช้สีในการพิมพ์
1. การใช้สีตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน
เนื่องจากสีที่ใช้ในการพิมพ์มีมากมายหลายสีแทบจะเรียกได้ว่านับไม่ถ้วน การใช้สีอย่างไม่คำนึงถึง ความเหมาะสม นั้นจะทำให้ผู้อ่านเห็นว่าผู้ใช้ไม่มีรสนิยมในการใช้สี และทำให้ความสวยงามของสิ่งพิมพ์นั้นลดลงไป เพื่อให้เป็นแนวทาง ในการเลือกใช้สี จึงกำหนดเกณฑ์ทั่วไปไว้ดังนี้
1.1 การใช้สีเป็นสีพื้น ในกรณีนี้เราใช้สีใดสีหนึ่งเป็นสีพื้น โดยพิมพ์ด้วยสกรีนฮาฟโทน จึงต้องมีสีอ่อนกว่า ตัวหนังสือหรือภาพที่จะพิมพ์ทับลงไป สีประเภทนี้จึงต้องเป็นสีอ่อนไม่ฉูดฉาด เพื่อให้สีของภาพที่จะพิมพ์ทับลงไป มีความเด่นมากกว่าสีพื้นจะทำหน้าที่เพิ่มความสวยงามและเพิ่มความเด่นชัดของข้อความเป็นส่วนใหญ่
1.2 การใช้สีเพื่อการตบแต่ง ในกรณีนี้จะใช้สีเพื่อเป็นการให้ความเด่นของภาพที่ส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือตบแต่ง ส่วนใดส่วนหนึ่ง เพื่อให้ดูน่าสนใจยิ่งขึ้น เช่น การใช้สีสดใสที่ตัวอักษรบนพื้นที่มีสีตัดกัน หรือการใส่กรอบภาพ บางภาพ ด้วยสีที่ทำให้ภาพนั้นดูเด่นขึ้น แต่การใช้สีในกรณีนี้ต้องระวังว่าสีนั้นต้องเข้ากับลักษณะของสิ่งพิมพ์นั้น ๆ ด้วย
1.3 การใช้สีเพื่อเน้นรายละเอียด โดยปกติรายละเอียดของจุดใดจุดหนึ่งบนสิ่งพิมพ์มักมีขนาดเล็กอาจเห็นได้ยาก การใช้สีที่สว่าง สดใส และมองเห็นเด่นชัดจะทำให้มองเห็นรายละเอียดได้ดีขึ้น เช่น การเน้นข้อความที่สำคัญ การเน้น จุดใดจุดหนึ่งในภาพ โดยการให้สีที่ต่างจากสีพื้นได้ทั่วไป
1.4 การใช้สีเพื่อการเน้นทั่วไป การที่จะมองเห็นตัวหนังสือหรือภาพบนกระดาษพิมพ์ได้ชัดเจนดีเพียงไรนั้น ย่อม ขึ้นอยู่กับความแตกต่างระหว่างสีหมึกที่พิมพ์และสีของกระดาษพิมพ์ สีที่มีความเข้มมากที่สุด คือ สีดำ เมื่อพิมพ์ลงบน กระดาษและจะเห็นได้ชัดเจนที่สุด สีอื่น ๆ เช่น สีแดง ถึงจะดูสดใสกว่าสีดำแต่ก็ ให้ค่าความแตกต่าง กับกระดาษขาว ได้น้อยกว่าสีดำ ฉะนั้นในกรณีที่ต้องการเน้นอะไรก็ตาม เพื่อให้มองเห็นได้ง่ายขึ้น ก็ควรจะทำ 2 อย่างคือ
1.4.1 เลือกพิมพ์สีใดสีหนึ่งที่มีลักษณะเป็นสีที่สดใส และมีความเข้มมาก ๆ หรือ
1.4.2 เพิ่มพื้นที่ในการพิมพ์ให้มากขึ้น เช่น ขยายตัวหนังสือให้โตขึ้น หรือ ขยายภาพให้โต ขึ้นแล้วพิมพ์ด้วยสีที่ ต้องการ ทั้งนี้ เพื่อให้ขนาดที่โตขึ้นช่วยเพิ่มความแตกต่างกับพื้นกระดาษจะได้เห็นได้ดีขึ้น
2.ความแตกต่างระหว่างการพิมพ์ภาพสี่สีกับการพิมพ์ที่สองเพิ่มขึ้น
โดยปกติการพิมพ์ข้อความหรือเนื้อเรื่องของสิ่งพิมพ์ธรรมดามักจะพิมพ์ด้วยสีใดสีหนึ่งเพียงสีเดียว ต่างบางครั้งหาก ต้องการเน้นหรือเพิ่มความสวยงามก็อาจพิมพ์บางส่วนให้มีสีอีกสีเพิ่มขึ้นเป็นสีที่สองได้ ซึ่งต้องทำแม่พิมพ์ใหม่ และพิมพ์สี ที่สองใหม่ต่อจากการพิมพ์สีแรกภาพพิมพ์ที่เกิดจากการพิมพ์สีที่สอง หรืออาจมีสีที่สาม สี่ ด้วยนี้จะเป็นภาพธรรมดา ที่มีการเน้นสีเป็นบางจุด เช่น หัวเรื่อง ภาพ กรอบ เส้นกราฟ เท่านั้น แต่มิใช่เป็นการพิมพ์ภาพ ให้เหมือน สีธรรมชาติจากภาพถ่าย
การพิมพ์ภาพให้เหมือนสีจริงของภาพถ่ายเรียกว่า การพิมพ์สี่สี ( four color process ) ซึ่งต้องนำภาพ ต้นฉบับที่ต้องการพิมพ์ไปแยกสีและพิมพ์ด้วยแม่พิมพ์ 4 แผ่น แล้วพิมพ์ด้วยหมึกสี่สี คือ ฟ้า ( cyan ) บานเย็น ( magenta ) เหลือง ( yellow ) และดำ ภาพที่ได้สุดท้ายจะเป็นภาพที่มีลักษณะและสีเหมือนกับภาพต้นฉบับ
การพิมพ์ภาพสี่สีมุ่งที่จะแสดงลักษณะสีและความสวยงามของภาพให้เหมือนกับของจริงมากที่สุด นิตยสาร วารสาร โปสเตอร์ เอกสารแผ่นพับต่าง ๆ ที่ต้องการความสวยงามจะพิมพ์ภาพสี่สีลงในหน้าใดหน้าหนึ่ง หรือส่วนใดส่วนหนึ่งเพื่อ ให้ดูน่าสนใจ และสวยงามมากยิ่งขึ้น ข้อเสียก็คือราคาแพงและต้องพิมพ์บนกระดาษอาร์ตซึ่งมีราคาแพง จึงจะสวยงาม ฉะนั้นจึงต้องดูความจำเป็นของการใช้ประกอบด้วย
แต่สำหรับการพิมพ์สีที่สองหรืออาจมีสีที่สาม หรือสี่ จะเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า เพราะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการแยกสี แต่ประโยชน์ใช้สอยก็ต่างกันเพราะจะใช้เพื่อการเน้นดังได้กล่าวแล้วเท่านั้น ประเด็นสำคัญก็คือ ต้องเลือกใช้สีที่ถูกกับ ลักษณะงาน เช่น ถ้าเป็นการใช้สีที่สองพิมพ์หัวข้อของหนังสือ ควรเลือกสีที่ให้ความรู้สึกหนักแน่น จริงจัง เช่น สีน้ำเงิน แต่ถ้าใช้สีแดงจะทำให้รู้สึก เร่าร้อน รุนแรง ไม่สงบ เป็นต้น ถ้าเป็นการใช้สีที่สองหรือสามเพื่อพิมพ์กราฟ ก็อาจเลือกใช้สีใดก็ได้ที่ตัดกันให้เห็นเด่นชัด เป็นต้น
ตัวอย่างสีที่ให้ความรู้สึกต่าง ๆ
1. สีแดง แสดงความ รู้สึก เร่งร้อน รุนแรง แสดงถึงอันตราย 2. สีฟ้า น้ำเงิน แสดง ความ รู้สึก จริงจัง หนักแน่น สงบ 3. สีน้ำตาล แสดงความรู้สึก จริงจัง หนักแน่น และบ่งบอกความเก่าแก่ 4. สีเหลือง แสดงความรู้สึก สดใส กระตือรือร้น 5. สีเขียว แสดงความรู้สึก ร่มเย็น สดชื่น สบายตา
การใช้สีในการพิมพ์ต้องคำนึงถึงสีของกระดาษด้วยเสมอ เพราะสีของกระดาษมีอิทธิพลต่อการมองเห็นสีหมึกที่ พิมพ์ลงไป
3. การเลือกใช้สี
สีทุกสีมีคุณสมบัติที่สำคัญ 3 ประการ คือ
1. ฮิว ( hue ) ได้แก่ ชนิดของสีนั้น ๆ เช่น แดง ฟ้า เหลือง
2. ค่าของสี ( value ) ได้แก่ ความเข้ม – อ่อนของสี
3. ความสว่าง ( chroma ) ได้แก่ ระดับความสว่างหรือความมืดของสีนั้น ๆ
ในการเลือกใช้สี มิใช่จะดูว่าเป็นสีอะไรเท่านั้น แต่ควรพิจารณาดูค่าความเข้ม – อ่อนของสีด้วย เช่น ถ้าจะใช้พิมพ์เป็น สีเขียว ก็ต้องเป็นเขียวอ่อน เพื่อให้สีอื่นที่จะพิมพ์ทับลงไปเด่นชัดขึ้น แต่ถ้าจะพิมพ์สีพื้นชนิดเป็นพื้นตายแล้วเจาะตัวขาว สีพื้นนั้นก็ต้องแก่หรือเข้มพอสมควร การเลือกใช้สีจึงต้องเปรียบเทียบสีกับสีอื่น ๆ ที่จะพิมพ์อยู่ด้วยเสมอ
4. เทคนิคการใช้สีหลายสีโดยเสียค่าใช้จ่ายน้อย
การพิมพ์หลายสีจะทำให้เสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น แต่ก็ยังมีวิธีที่จะลดค่าใช้จ่ายลงได้โดยเทคนิคต่าง ๆ ดังนี้
4.1 ถ้าไม่ใช่เป็นการพิมพ์ภาพสี่สีอาจเลือกใช้เปอร์เซ็นต์เม็ดสกรีนขนาดต่าง ๆ กัน โดยใช้พิมพ์ด้วยสีเดียว ก็จะได้สี ที่แก่อ่อนต่าง ๆ กันหลายสี โดยการพิมพ์เพิ่มเพียงหนึ่งสีหรืออาจพิมพ์เพิ่ม 2 สี แต่ได้ผลที่มองเห็นมากมายโดยการพิมพ์ 2 สีนั้นทับกันที่เปอร์เซ็นต์เม็ดสกรีนต่าง ๆ กัน เช่น
ฟ้า ( 100%) + เหลือง ( 100% ) จะได้ผลเป็น เขียว
ฟ้า ( 100% ) + เหลือง ( 80% ) จะได้ผลเป็น เขียวออกฟ้า
ฟ้า ( 50% ) + เหลือง ( 100% ) จะได้ผลเป็น เขียวออกเหลือง
ฟ้า ( 50%) + เหลือง ( 50% ) จะได้ผลเป็น เขียวอ่อน
ซึ่งสีต่าง ๆ ทั้งหมดตามด้วยตัวอย่างนี้จะพิมพ์เพียง 2 ครั้ง ใช้แม่พิมพ์เพียง 2 แผ่นเท่านั้น
4.2 ในกรณีที่เป็นภาพสี่สีในหนังสือเล่มเดียวกัน หรือบทเดียวกัน หากสามารถรวมภาพสีเหล่านั้นไว้ในยกเดียวกัน ได้จะประหยัดค่าแม่พิมพ์ และค่าพิมพ์ไปได้มาก เพราะจะเสียเฉพาะค่าแยกสีเท่านั้น ส่วนค่าแม่พิมพ์และค่าพิมพ์ใช้ร่วมกัน ซึ่ง 2 ข้อนี้เป็นค่าใช้จ่ายหลักของการพิมพ์ภาพสี่สี
4.3 เทคนิคการพิมพ์อีกชนิดหนึ่งที่ทำให้ภาพขาวดำสามารถพิมพ์ออกมาไดสวยงามขึ้นโดยไม่ต้องใช้การพิมพ์ ภาพ สี่สี คือ การนำภาพขาวดำมาพิมพ์โดยระบบ 2 สี ( duotone ) ซ้อนกัน ซึ่งทำได้โดยการทำฟิล์มเนกาตีฟ 2 ชิ้น ชิ้นที่ 1 เป็นการถ่ายฟิล์มแบบได้ผลปกติ อีกชิ้นหนึ่งทำให้เน้นเฉพาะส่วนที่เป็นเงาหรือบริเวณเข้มและบริเวณดำปานกลาง เมื่อนำมา ทำแม่พิมพ์และพิมพ์สีที่ 1 ด้วยสีดำและพิมพ์สีที่ 2 ด้วยหมึกอีกสีหนึ่งแล้ว จะทำให้เห็นภาพนั้นมีการเน้นเฉพาะส่วนที่เข้ม แต่ส่วนที่เป็นจุดสว่าง ( high light ) จะสว่างขึ้น ทำให้ภาพมีความลึกชัดมากขึ้น ซึ่งวิธีนี้จะเสียค่า ใช้จ่าย ไม่มากนัก แต่ ได้ผลดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น